วันอาทิตย์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

Diary Note 17 November 2015

Diary Note No.14

Substance

กิจกรรม (Activities) 

การทำบูลเบอรี่ชีสพาย

วัตถุดิบ

  1. ครีมชีส
  2. โยเกิร์ต
  3. น้ำมะนาว
  4. น้ำตาลไอซิ่ง
  5. คุ้กกี้โอริโอ้
  6. เนยละลาย
  7. บูลเบอรี่
  8. เยลลี่
  9. ช็อคโกแลตชิพ
อุปกรณ์
  1. ตะกร้อตีไข่
  2. ถ้วย
  3. ถุงพลาสติก
  4. ช้อน
ขั้นตอนการทำ
     แบ่งเป็น 3 ฐาน ดังนี้

ฐานที่ 1  นำโอริโอ้ใส่ถุงพลาสติก บดให้ละเอียด จากนั้นก็นำไปผสมกับเนยที่ละลายไว้



ฐานที่ 2  นำครีมชีสไปผสมกับโยเกิร์ต น้ำตาลไอซิ่ง และผสมน้ำมะนาวเล็กน้อย คนให้เข้ากัน แล้วตักใส่ถ้วย


ฐานที่ 3  ราดด้วยบูลเบอรี่ ช็อคโกแลตชิพ และตกแต่งด้วยเยลลี่ให้สวยงาม



การทำบัวลอย

ขั้นตอนการทำ
     
     แบ่งออกเป็น 3 ฐาน ดังนี้

ฐานที่ 1  ผสมแป้งและสีผสมอาหารเข้าด้วยกัน


ฐานที่ 2  ปั้นแป้งเป็นลูกกลม ๆ ขนาดพอประมาณ



ฐานที่ 3  นำแป้งที่ได้ไปใส่ในน้ำที่ต้มสุก เมื่อแป้งลอยขั้นให้ตักออก แล้วนำไปราดด้วยน้ำกะทิ


เสร็จแล้ว บัวลอยน้ำกะทิของเรา


การทำไอศครีม

วัตถุดิบ

  1. นมสด
  2. นมข้นหวาน
  3. เกลือ
  4. น้ำแข็ง
  5. ท็อปปิ้งสำหรับตกแต่ง
  6. วิปปิ้งครีม
อุปกรณ์
  1. ถ้วย
  2. ถุงซิปล็อคใบใหญ่ และ ใบเล็ก
  3. ตะกร้อตีไข่
วัตถุดิบและอุปกรณ์ทั้งหมด

ขั้นตอนการทำ
     แบ่งเด็กออกเป็นกลุ่ม แจกอุปกรณ์และทำไปพร้อม ๆ กัน

ได้รับวัตถุดิบและอุปกรณ์เรียบร้อย

ขั้นที่ 1  นำนมสด นมข้นหวาน เกลือ วิปปิ้งครีม ใส่ลงไปในถ้วยและคนให้เข้ากัน


ขั้นที่ 2   นำส่วนผสมที่ได้ไปใส่ในถุงซิปล็อคใบเล็ก



ขั้นที่ 3  เมื่อใส่เสร็จแล้ว นำไปใส่ในถุงซิปล็อคใหญ่ที่มีน้ำแข็งผสมเกลือ



ขั้นที่ 4  คนหรือเขย่าให้ส่วนผสมทั้งหมดแข็งและจับเป็นก้อน


ขั้นที่ 5  เมื่อไอศครีมแข็งตัว ตักใส่ถ้วยและตกแต่งให้สวยงาม



เทคนิคการสอน (Technical Education)

  • อาจารย์เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ลงมือกระทำด้วยตนเอง
  • เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
ทักษะที่ได้รับ (Gain Skills)
  • ได้รับทักษะการสังเกต Observe Skill
  • ได้รับทักษะการทำงานร่วมกัน Team Work
  • ได้รับทักษะความคิดสร้างสรรค์
  • ทักษะการตอบคำถาม
  • ทักษะการทำอาหาร
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ (Adoption)
  • สามารถนำความรู้ที่ได้จาการทำคุกกิ้ง ไปใช้ในการสอนกับเด็กปฐมวัย อีกทั้งยังสามารถนำไปใช้ในการประกอบอาชีพเสริมได้ในอนาคต
ประเมินอาจารย์ (Teaching Evaluation)
  • อาจารย์เปิดโอกาสให้เด็กได้ลงมือกระทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยตัวเอง แต่อาจารย์ให้คำแนะนำอยู่ห่าง ๆ 


Diary Note 10 November 2015

Diary Note No.13
Substance

กิจกรรม (Activities) 

ารทำขนม วาฟเฟิล (Waffle) 

วัตถุดิบ
  1. แป้งวาฟเฟิลสำเร็จรูป
  2. ไข่ไก่ (Eggs)
  3. นม (Milk)
  4. น้ำดื่ม (Water)
  5. กลิ่นวนิลา 
  6. อุปกรณ์ตกแต่งหน้าวาฟเฟิล เช่น ช็อคโกแลต (Chocolate) , แยม (Jam) , เยลลี่ 
  7. เนย
อุปกรณ์
  1. เตาวาฟเฟิล
  2. ตะกร้อตีไข่
  3. ถ้วย
วัตถุดิบและอุปกรณ์การทำวาฟเฟิล

ขั้นตอนการทำ
     แบ่งเด็กเป็นกลุ่ม พร้อมแจกวัตถุดิบและอุปกรณ์

ขั้นที่ 1  นำ แป้ง ไข่ไก่ น้ำดื่ม นม กลิ่มวนิลา ใส่เข้าไปในถ้วยแล้วคนให้เข้ากัน

นำวัตถุดิบทั้งหมดใส่ถ้วยแล้วคนให้เข้ากัน

ขั้นที่ 2  ทาเนยลงบนเตาอบ จากนั้น นำส่วนผสมที่ได้ ไปใส่ในเตาอบวาฟเฟิล


ขั้นที่ 3  เมื่ออบเสร็จแล้ว ก็นำมาตกแต่งให้สวยงาม ตามใจชอบ

เสร็จแล้วผลงานการทำวาฟเฟิลของพวกเรา กลุ่ม 101 

การทำข้าวทาโกยากิ (Takoyaki)

วัตถุดิบ
  1. ข้าวสวย
  2. ไข่ไก่
  3. ปูอัด
  4. ซอสปรุงรส
  5. มายองเนส
  6. ซอสทาโกยากิ 
  7. สาหร่าย
อุปกรณ์
  1. เตาทาโกยากิ
  2. ถ้วย
  3. ตะเกียบ
  4. ช้อน
  5. หม้อหุงข้าว
  6. ทัพพี
ขั้นตอนการทำ
    แบ่งเป็น 4 ฐาน ดังนี้

ฐานที่ 1  ตอกไข่ไก่ใส่ลงไปในถ้วย จากนั้นตักข้าวสวยใส่ลงไป จำนวน 3 ทัพพี แล้วคนให้เข้ากัน


ฐานที่ 2  นำส่วนผสมที่ได้ไปปรุงรสด้วยซอส และใส่ปูอัด


ฐานที่ 3  ทาเนยบนถาดหลุมและนำส่วนผสมที่ได้ทั้งหมดไปหยอดในถาดหลุมทาโกยากิ



ฐานที่ 4  นำทาโกยากิที่สุกแล้ว ไปราดซอสทาโกยากิ และ มายองเนส พร้อมตกแต่งหน้าด้วยสาหร่าย


เสร็จแล้วฝีมือการทำข้าวทาโกยากิของเพื่อน ๆ

นำเสนอแผนคุกกิ้ง (Cooking)

นำเสนอแผนทดลอง

เทคนิคการสอน (Technical Education)
  • อาจารย์เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ลงมือกระทำด้วยตนเอง
  • เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
ทักษะที่ได้รับ (Gain Skills)
  • ได้รับทักษะการสังเกต Observe Skill
  • ได้รับทักษะการทำงานร่วมกัน Team Work
  • ได้รับทักษะความคิดสร้างสรรค์
  • ทักษะการตอบคำถาม
  • ทักษะการทำอาหาร
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ (Adoption)
  • สามารถนำความรู้ที่ได้จาการทำคุกกิ้ง ไปใช้ในการสอนกับเด็กปฐมวัย อีกทั้งยังสามารถนำไปใช้ในการประกอบอาชีพเสริมได้ในอนาคต
ประเมินอาจารย์ (Teaching Evaluation)
  • อาจารย์มีเทคนิคการสอนที่หลากหลาย เปิดโอกาสให้เด็กได้ลงมือกระทำด้วยตนเอง ไม่ตีกรอบความคิดของนักศึกษา มีคำแนะนำชี้แนะตลอดเวลา

Diary Note 3 November 2015

Diary Note No.12

Substance

อาจารย์และนักศึกษาร่วมอภิปรายการเขียนแผนการสอน Cooking แผนการทดลอง

การเขียนแผนประสบการณ์จะไปกอบไปด้วย

  1. วัตถุประสงค์  การเขียนวัตถุประสงค์นั้นต้องเขียนให้ครอบคลุมทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์-จิตใจ ด้านสังคม และด้านสติปัญญา และการเขียนวัตถุประสงค์นั้นไม่ควรใช้คำกริยาซ้อนคำกริยา
  2. สาระที่ควรเรียนรู้  เป็นส่วนที่เป็นเนื้อหาที่เราจะสอน ความรู้ต่าง ๆ 
  3. ประสบการณ์สำคัญ คือสิ่งที่เด็กได้จากการทำกิจกรรม ต้องครอบคลุมทั้ง 4 ด้าน ในส่วนนี้สามารถดูได้ในหนังสือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย ปี พ.ศ. 2546
  4. กิจกรรมการเรียนรู้  ในส่วนนี้จะแบ่งออกเป็น 3 ขั้น ดังนี้คือ 1. ขั้นนำ 2. ขั้นสอน 3. ขั้นสรุป
  5. สื่อ/แหล่งการเรียนรู้  คือสิ่งที่เราใช้ในการสอนไม่ว่าจะเป็นเพลง หรืออุปกรณ์ต่าง ๆ 
  6. การวัดและการประเมินผล  ในการสอนแต่ละครั้งเราควรวัดและประเมินผลเด็ก ซึ่งในการวัดและประเมินผลนั้นมีหลายวิธี เช่น การสังเกต การตอบคำถาม การประเมินผลจากชิ้นงาน เป็นต้น
  7. บูรณาการ  ในการสอนเราสามารถบูรณาการวิชาต่าง ๆ เข้ามาในการสอนได้

เทคนิคการสอน (Technical Education)
  • อาจารย์ใช้เทคนิคการสอนที่หลากหลาย
  • มีการ Ask a question เพื่อให้นักศึกษาได้เกิดกระบวนการคิด
  • เริ่มจากหลักการ และนำมาสรุป
ทักษะที่ได้รับ (Gain Skills)
  • has been critical thinking skill
  • has been ask and answer skill
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ (Adoption)
  • สามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการเขียนแผน เพื่อเอาไว้ใช้ในอนาคต
ประเมินอาจารย์ (Teaching Evaluation)
  • อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย เป็นตัวอย่างให้แก่นักศึกษา ในการสอนนั้นอาจารย์ได้เปิดโอกาสให้เด็กได้ตอบคำถาม และมีทักษะการสอนที่หลากหลาย

Diary Note 27 October 2015

Diary Note No.11

Substance

แบ่งกลุ่ม 5-6 คน ทำกิจกรรม ดังนี้ 

  1. กิจกรรมดอกไม้บาน 
ขั้นตอน
     อาจารย์แจกกระดาษาให้คนละ 1 แผ่น ตัดกระดาษให้เป็นรูปดอกไม้ จากนั้นให้นำไปลอยในน้ำ และภายในกลุ่มต้องมี 1 คน เป็นคนจดบันทึกพฤติกรรมของเพื่อนขณะเพื่อนทำกิจกรรม


สรุป
     ดอกไม้ที่พับไว้นั้นบานออก เนื่องจาก น้ำดูดซึมเข้าไปในช่องว่างของกระดาษจึงทำให้กลีบดอกไม้นั้นบานออก และสีของดอกไม้ที่เราระบายนั้นเปรียบเสมือนสมอง น้ำที่โดสี เหมือนการเกิดการเรียนรู้ และสีที่เกิดใหม่ เปรียบเสมือน ความรู้ใหม่ที่ได้รับ ส่วน ดอกไม้จม ก็เป็นเพราะว่า น้ำอยู่ทั่วพื้นที่ ทำให้ช่องว่างไม่มีเลยทำให้ดอกไม้ที่ลอยอยู่นั้นจมลงไป

     2.  กิจกรรมรูไหนพุ่งไกลกว่ากัน

ขั้นตอน
     นำขวดน้ำมาเจาะรูในลักษณะ บน กลาง ล่าง จากนั้นนำสก็อตเทปมาอุดรูไว้แล้วใส่น้ำลงไป นำน้ำใส่ลงไปในขวด และดึงสก็อตเทปออกพร้อม ๆ กัน และสังเกตการเปลี่ยนแปลง


สรุป
     จากผลการทดลองสรุปได้ว่างรูล่างมีน้ำพุ่งมาไกลที่สุด แล้วตามด้วยรูกลาง และรูบนตามลำดับ ซึ่งสาเหตุที่รูล่างมีน้ำพุ่งไกลที่สุดก็เพราะว่ารูที่อยู่ล่างมีแรงดันอากาศที่มากที่สุด

     3.  กิจกรรมแรงดันน้ำพุ


สรุป
     เนื่อง จากน้ำตามหลักความเป็นจริง น้ำจะไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำเสมอ  เมื่อเราเทน้ำใส่ขวดที่มีสายยางต่ออยู่ จึงทำให้น้ำไหนลงไปสู่ปลายสาย ยิ่งเรานำปลายสายอยู่ต่ำกว่าต้นสายมากเท่าไหร่ ก็จะทำให้น้ำพุ่งสูงขึ้นมากเท่านั้น 

     4.  กิจกรรมเป่าเชือกจากหลอด

ขั้นตอน
     ในไหมพรมสอดเข้าไปในหลอดแล้ว นำปลายเชือกทั้งสองมาผูกกัน จากนั้นให้นักศึกษาเป่าลมเข้าไปในหลอด


สรุป
     ลมที่เป่าผ่านหลอดอย่างรวดเร็ว จึงทำให้ไหมพรมส่วนที่ห้อยอยู่เคลื่อนที่เป็นวงกลมได้

     5.  กิจกรรมเทียนไขดูดน้ำ

ขั้นตอน
  1. เทน้ำใส่ลงไปในภาชนะ
  2. จุดเทียนแล้วนำเทียนไปวางในภาชนะที่มีน้ำ
  3. นำแก้วน้ำมาครอบเทียนที่จุดอยู่

สรุป
     เมื่อออกซิเจนที่อยู่ในแก้วถูกเผาไหม้จนหมด ความดันในแก้วจึงมีน้อยกว่านอกแก้ว จึงทำให้เทียนที่จุดไว้ดับ

     6.  กิจกรรมจากแรงดันอากาศ (ลูกยาง)

ขั้นตอน
    นำกระดาษ A4 มาพับให้ได้ 8 ช่อง ตัดออกมา 1 อัน จากนั้น ใช้กรรไกรตัดตรงกลางครึ่งนึง แล้วพับกระดาษไปคนละข้างดังรูป เสร็จแล้วพับส่วนล่างของกระดาษเล็กน้อย และใล้คลิปมาติดส่วนด้านล่างไว้


สรุป
     เมื่อ เราโยนลูกยางที่เราทำขึ้นไปข้างบน อากาศที่เคลื่อนที่จะเข้ามาพยุงปีกทั้งสองข้างที่เราพับไว้ จึงทำให้วัตถุเคลื่อนที่อยู่บนอากาศในนานขึ้นและตกลงสู่พื้นอย่างช้าๆ

     7.  กิจกรรมกระจกสะท้อนแสง

ขั้นตอน
     นำกระจกมาวางในลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยม จากนั้นให้นำรูปภาพมาวางไว้ระหว่างกระจก ดังรูป


สรุป
     กฎของกระจกคือการสะท้อน ดังนั้นเมื่อนำรูปภาพไปวางแสงจะสะท้อนจากกระจกอีกด้านหนึ่ง ไปอีกด้านหนึ่ง ทำให้เกิดภาพหลายภาพ

เทคนิคการสอน (Technical Education)

  • มีการ Ask a question เพื่อให้เด็กได้เกิดกระบวนการทางความคิดเพื่อหาคำตอบ
  • มีการยกตัวอย่างให้นักศึกษาเพื่อให้นักศึกษาได้เข้าใจได้ง่ายยิ่งขึ้น
  • ให้นักศึกษาได้ลงปฏิบัติ ทดลอง ทำด้วยตนเอง
ทักษะที่ได้รับ (Gain Skills)
  • ทักษะในการถามและตอบคำถาม Has been ask and answer skill
  • ทักษะในการคิดวิเคราะห์ Has been Critical thinking skill
  • ทักษะในการสังเกต Observe skill
  • ทักษะการทำงานเป็นกลุ่ม Team work
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ (Adoption)
  • สามารถนำความรู้ที่จากการทดลองทำกิจกรรมต่าง ๆ ไปใช้ในการจัดกิจกรรมในห้องเรียนของเด็กปฐมวัย
ประเมินอาจารย์ (Teaching Evaluation)
  • ในขณะที่สอนอาจารย์จะยกตัวอย่างเสมอ และถามคำเด็กเพื่อให้เด็กได้เกิดกระบวนการคิดและเพื่อให้เด็กเข้าใจยิ่งขึ้น เกี่ยวกับเนื้อหาที่เรียน เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้แสดงความคิดอย่างเต็มที่ อีกทั้งอาจารย์ยังเข้าสอนตรงเวลา มีเทคนิคการสอนที่หลากหลาย


Diary Note 20 October 2015

Diary Note No.10

Substance

นำเสนอบทความ

  • ลขที่ 11 เรื่อง ทำอาหาร กิจกรรมที่ที่ส่งเสริมทางวิทยาศาสตร์ในเด็กปฐมวัย
แนวคิดพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
  1. แตกต่าง
  2. เปลี่ยนแปลง
  3. ปรับตัว
  4. พึ่งพา
  5. สมดุล
เจตคติทางวิทยาศาสตร์
  1. อยากรู้อยากเห็น
  2. เพียรพยายาม
  3. มีเหตุผล
  4. ซื่อสัตย์
  5. ละเอียกรอบคอบ
  • เลขที่ 12 เรื่อง เรียนรู้ อยู่รอด  
นำเสนอของเล่น 3 ชิ้น

  1. ของเล่นที่เด็กทำได้เอง : เต๊าะ
  2. ของเล่นเข้ามุม : เครื่องดูดจอมกวน
  3. ของเล่นที่ทำการทดลอง : สีเริงระบำ
ของเล่นที่เด็กทำได้เอง : เต๊าะ

อุปกรณ์

  1. ฝาขวดน้ำ
  2. กรรไกร
  3. ถุงพลาสติก
  4. ยาง
ขั้นตอนการทำ
     1. นำถุงพลาสติกมาหุ้มฝาขวนน้ำ จากนั้นรัดยากให้แน่น




     2. นำยางมารัดบนฝาอีกรอบ ให้เป็นลักษณะดังรูป


เสร็จแล้วเครื่องเต๊าะของเล่นที่เด็กทำได้


วิธีการเล่นเครื่องเต๊าะ
     ใช้มือดึงยาง แล้วปล่อย จะเกิดเสียงดังเต๊าะ


ของเล่นเข้ามุม : เครื่องดูดจอมกวน

อุปกรณ์

  1. หลอดน้ำ 2 หลอด
  2. ลูกโป่ง 1 ลูก
  3. กรรไกร
  4. เทปกาว
  5. ดินน้ำมัน
  6. อุปกรณ์สำหรับเจาะ
  7. ขวดน้ำขนาด 5 ลิตร
ขั้นตอนการทำ 
  1. นำฝาขวดน้ำมาเจาะรู 2 รู ขนาดให้พอดีกับหลอดน้ำ
  2. นำหลอดน้ำ 1 หลอด มาใส่ในลูกโป่ง พร้อมติดเทปกาว
  3. นำหลดน้ำที่ไม่มีลูกโป่ง และมีลูกโป่งใส่ไปที่ฝาขวดน้ำ
  4. หลังจากนั้น ให้นำทั้งหมดใส่ไปในขวด ปิดฝาให้แน่น
  5. ติดดินน้ำมันตรงฝาขวดน้ำที่เจาะรูไว้เผื่อไม่ให้อากาศเข้าสู่ภายในขวด
เสร็จแล้วของเล่นเข้ามุมเข้ามุม เครื่องดูดจอมกวน


วิธีการเล่น
  • ให้เด็กเป่าหลอดที่ไม่มีลูกโป่ง จากนั้นให้เด็กลองดูดหลอดที่มีลูกโป่งแล้วให้เด็กสังเกต
การทดลองสีเริงระบำ

อุปกรณ์
  1. นม
  2. สีผสมอาหาร
  3. น้ำยาล้างจาน
  4. ถ้วยหรือแก้ว
ขั้นตอนการทดลอง
  1. เทนมลงไปในถ้วยหรือแก้ว
  2. นำสีผสมอาหารที่ผสมกับน้ำแล้วไปหยดลงในนม
  3. หยดน้ำยาล้างจานลงไปแล้วสังเกตการเปลี่ยนแปลง
ขั้นตอนการทดลอง
  1. เทนมลงในภาชนะ
  2. หยดสีลงไปในนม
  3. หยดน้ำยาล้างจานลงไปสังเกตดูการเปลี่ยนแปลง
เทคนิคการสอน (Technical Education)
  • มีการใช้คำถาม-ตอบ ในเรื่องที่เรียนอยู่
  • อาจารย์สอนโดยให้นักศึกษาลงมือกระทำด้วยตนเอง
ทักษะที่ได้รับ (Gain Skills)
  • ได้ทักษะการทำงานเป็นกลุ่ม
  • ได้ทักษะการคิดวิเคราะห์
  • ได้ทักษะในการตอบคำถาม
  • ได้ทักษะในการกล้าแสดงออก
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ (Adoption)
  • สามารถนำ ความรู้ที่ได้ในเรื่องของการทำของเล่น ไม่ว่าจะเป็นของเล่นเข้ามุม หรือ ของเล่นที่เด็กทำได้ แม้กระทั่งการทดลอง ไปใช้ในการจัดประสบการณ์ให้แก่เด็กปฐมวัย โดยให้เด็กเรียนรู้ผ่านการลงมือกระทำด้วยตนเอง
ประเมินอาจารย์ (Teaching Evaluation)
  • อาจารย์มีเทคนิคการสอนที่หลากหลาย เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้แสดงความคิดเห็นและตอบคำถาม ไม่ปิดกั้นหรือตีกรอบความรู้ของเด็ก

Diary Note 13 October 2015

Diary Note No.9

Substance

นำเสนองานวิจัย (Research)

  • เลขที่ 5 เรื่อง  การจัดกิจกรรมส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
  • เลขที่ 6 เรื่อง การคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ 
นำเสนอโทรทัศน์ (Thai Teacher TV)

  • เลขที่ 7 เรื่อง แรงตึงผิว
  • เลขที่ 8 เรื่อง สอนเด็กอย่างไรให้มีจิตวิทยาศาสตร์ โดย ครูประกายแสง เงินกร
              ครูวาสนา พรมตา 
  การปลูกฝังจิตวิทยาศาสตร์ให้กับเด็ก
     คือเราต้องทำอย่างไรให้เด็กรักในวิทยาศาสตร์ ไม่เบื่อ อยากเรียน อย่างรู้อยากเห็น มีความสนใจซึ่งการสร้างจิตวิทยาศาสตร์ให้เด็กนั้นทำได้โดย
  •      สร้างบรรยากาศในการเรียนการสอน คือ การเตรียมอุปกรณ์ในการทดลอง ขั้นนี้เด็กจะเกิดการอยากรู้อยากเห็น รู้จักสังเกต อยากถามเกี่ยวกับอุปกรณ์
     การวัดผล
  • สังเกตหลังจากที่สอนว่าเด็กมีความสนใจเนื้อหา สนุกในการเรียนการสอน หรือไม่
  • สัมภาษณ์ผู้ปกครองว่าเด็กเป็นอย่างไรเมื่ออยู่ที่บ้าน
     ธรรมชาติของเด็กจะเป็นคนขี้สงสัย ชอบถามว่า ทำไม ทำไม ทำไม แต่ถ้าเด็กคนไหนที่ไม่จิตวิทยาศาสตร์จะไม่ค่อยถาม เรียนไม่สนุก ดังนั้นเราควรเรียนรู้จากสิ่งที่ใกล้ตัวเด็ก เด็กสามารถเห็นได้จริง ทดลองได้จริง

     การเตรียมตัวของครูผู้สอน
  • การสอนแบบบรรยาย ครูต้องมีเทคนิคในการสอน ครูต้องมีการเตรียมความพร้อม เนื้อหาต้องสั้น กะทัดรัด และเกิดความเข้าใจ เพราะถ้าเราพูดนาน ๆ เด็กจะเบื่อ เนื่องจากเด็กมีสมาธิที่สั้น
  • การทดลอง เด็กจะตื่นเต้นอยากรู้อยากเห็น เกิดข้อสงสัย เด็กจะเรียนรู้จากการกระทำของเขาเอง
      การสร้างบรรยากาศ/การวางแผน
     ถ้าวางแผนไม่ดีเด็กจะไม่สนใจ การวางแผนที่ดี คือ ชื่อเรื่อง ต้องมีสิ่งเร้า ซึ่งสิ่งเร้า เด็กต้องสามารถหาหนทางแก้ไขปัญหาให้กับเราได้
  • เลขที่ 9 เรื่อง จุดประกายนักวิทยาศาสตร์ โดย อาจารย์ เฉลิมชัย วัดเข้าหลาม
     การสอนวิทยาศาสตร์อย่างไรนั้นไม่ให้น่าเบื่อ และสอนอย่างไรให้เด็กมีความชอบ ความรักในวิทยาศาสตร์ หลักการที่ อาจารย์ เฉลิมชัย ใช้ คือ

  1. เราต้องสอนให้สนุก สอนให้น่าสนใจ
  2. สอนในสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวเด็ก เช่น ธรรมชาติ สิ่งของ เป็นต้น
  3. ให้เด็กลงมือกระทำหรือปฏิบัติด้วยตนเอง เด็กนั้นจะเกิดความจดจำแบบไม่รู้ลืม
นำเสนอของเล่นของเพื่อนที่ยังไม่ได้นำเสนอ
  • กลองแขก
  • คานหนังสติ๊ก
  • ปี่กระป๋อง
สาระที่เด็กควรเรียนรู้
  1. เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก  รู้จักชื่อ-นามสกุล รูปร่าง หน้าตา อวัยวะต่างๆ วิธีระวังรักษาร่างกายให้สะอาด ปลอดภัย
  2. เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่  รู้จักและรับรู้เรื่องราวเกี่ยวกับครอบครัว สถานศึกษา ชุมชน รวมทั้งบุคคลต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
  3. ธรรมชาติรอบตัวเด็ก  รู้จักสิ่งมีชีวิตที่เป็นต้นไม้ ดอกไม้ สัตว์ รวมทั้งความเปลี่ยนแปลงของโลกที่แวดล้อมเด็กตามธรรมชาติ เช่น ฤดูกาล กลางวัน-กลางคืน ฯลฯ
  4. สิ่งต่างๆ รอบตัวเด็ก   รู้จักสิ่งของเครื่องใช้ ยานพาหนะ และการสื่อสารต่างๆ ที่ใช้อยู่ในชีวิตประจำวันของเด็ก
 กิจกรรม (Activities)
  • แบ่งนักศึกษาออกเป็น 4 กลุ่ม กลุ่มละ 5 คน ทำ Mind Mapping  ในห้วข้อที่ตัวเองได้ คือ เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก

    ซึ่งกลุ่มของดิฉันได้เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก สอนเรื่อง ร่างกาย โดยแบ่งเป็น 5 หัวข้อ ดังนี้
    1. ชนิด
           เช่น อวัยวะภายนอก อวัยวะภายใน
    2. ลักษณะ
           เช่น สถานะ รูปทรง ขนาด และ สี
    3. ประโยชน์
                        เช่น ทำให้ร่างกายสมดุล,ทำให้อวัยวะต่าง ๆ เคลื่อนที่
               4.  การดูแลรักษา
                         เช่น ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ,รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
               5.  ข้อควรระวัง
                         เช่น ใช้ร่างกายให้ถูกวิธี
  • หลังจากทำ Mind Mapping เสร็จ อาจารย์ได้สั่งงานให้ทำสิ่งประดิษฐ์ในเรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก โดยมีหัวข้อดังนี้
         - ของเล่นที่เด็กทำได้เอง
         - ของเล่นเข้ามุม
         - ของเล่นที่ทำการทดลอง
เทคนิคการสอน (Technical Education)
  • มีการใช้ Ask and Answer ในเรื่องที่เรียนอยู่จนทำให้นักศึกษาเกิดกระบวนการเรียนรู้
ทักษะที่ได้รับ (Gain Skills)
  • Has been ask and answer skill
  • Has been critical thinking skills
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ (Adoption)
  • สามารถนำความรู้ที่ได้ ไปประยุกต์กับการจัดการเรียนสอนให้แก่เด็กปฐมวัย ว่าเราควรสอนอย่างไร 
ประเมินอาจารย์ (Teaching Evaluation)
  • อาจารย์เข้าสอนตรงต่อเวลา เปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงความคิดเห็น ไม่ตีกรอบเด็กในการตอบคำถาม