Substance
นำเสนองานวิจัย (Research)
- เลขที่ 5 เรื่อง การจัดกิจกรรมส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
- เลขที่ 6 เรื่อง การคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
- เลขที่ 7 เรื่อง แรงตึงผิว
- เลขที่ 8 เรื่อง สอนเด็กอย่างไรให้มีจิตวิทยาศาสตร์ โดย ครูประกายแสง เงินกร
ครูวาสนา พรมตา
การปลูกฝังจิตวิทยาศาสตร์ให้กับเด็ก
คือเราต้องทำอย่างไรให้เด็กรักในวิทยาศาสตร์ ไม่เบื่อ อยากเรียน อย่างรู้อยากเห็น มีความสนใจซึ่งการสร้างจิตวิทยาศาสตร์ให้เด็กนั้นทำได้โดย
การเตรียมตัวของครูผู้สอน
ถ้าวางแผนไม่ดีเด็กจะไม่สนใจ การวางแผนที่ดี คือ ชื่อเรื่อง ต้องมีสิ่งเร้า ซึ่งสิ่งเร้า เด็กต้องสามารถหาหนทางแก้ไขปัญหาให้กับเราได้
คือเราต้องทำอย่างไรให้เด็กรักในวิทยาศาสตร์ ไม่เบื่อ อยากเรียน อย่างรู้อยากเห็น มีความสนใจซึ่งการสร้างจิตวิทยาศาสตร์ให้เด็กนั้นทำได้โดย
- สร้างบรรยากาศในการเรียนการสอน คือ การเตรียมอุปกรณ์ในการทดลอง ขั้นนี้เด็กจะเกิดการอยากรู้อยากเห็น รู้จักสังเกต อยากถามเกี่ยวกับอุปกรณ์
- สังเกตหลังจากที่สอนว่าเด็กมีความสนใจเนื้อหา สนุกในการเรียนการสอน หรือไม่
- สัมภาษณ์ผู้ปกครองว่าเด็กเป็นอย่างไรเมื่ออยู่ที่บ้าน
การเตรียมตัวของครูผู้สอน
- การสอนแบบบรรยาย ครูต้องมีเทคนิคในการสอน ครูต้องมีการเตรียมความพร้อม เนื้อหาต้องสั้น กะทัดรัด และเกิดความเข้าใจ เพราะถ้าเราพูดนาน ๆ เด็กจะเบื่อ เนื่องจากเด็กมีสมาธิที่สั้น
- การทดลอง เด็กจะตื่นเต้นอยากรู้อยากเห็น เกิดข้อสงสัย เด็กจะเรียนรู้จากการกระทำของเขาเอง
ถ้าวางแผนไม่ดีเด็กจะไม่สนใจ การวางแผนที่ดี คือ ชื่อเรื่อง ต้องมีสิ่งเร้า ซึ่งสิ่งเร้า เด็กต้องสามารถหาหนทางแก้ไขปัญหาให้กับเราได้
- เลขที่ 9 เรื่อง จุดประกายนักวิทยาศาสตร์ โดย อาจารย์ เฉลิมชัย วัดเข้าหลาม
การสอนวิทยาศาสตร์อย่างไรนั้นไม่ให้น่าเบื่อ และสอนอย่างไรให้เด็กมีความชอบ
ความรักในวิทยาศาสตร์ หลักการที่ อาจารย์ เฉลิมชัย ใช้ คือ
- เราต้องสอนให้สนุก สอนให้น่าสนใจ
- สอนในสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวเด็ก เช่น ธรรมชาติ สิ่งของ เป็นต้น
- ให้เด็กลงมือกระทำหรือปฏิบัติด้วยตนเอง เด็กนั้นจะเกิดความจดจำแบบไม่รู้ลืม
นำเสนอของเล่นของเพื่อนที่ยังไม่ได้นำเสนอ
- กลองแขก
- คานหนังสติ๊ก
- ปี่กระป๋อง
สาระที่เด็กควรเรียนรู้
- เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก รู้จักชื่อ-นามสกุล รูปร่าง หน้าตา อวัยวะต่างๆ วิธีระวังรักษาร่างกายให้สะอาด ปลอดภัย
- เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่ รู้จักและรับรู้เรื่องราวเกี่ยวกับครอบครัว สถานศึกษา ชุมชน รวมทั้งบุคคลต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
- ธรรมชาติรอบตัวเด็ก รู้จักสิ่งมีชีวิตที่เป็นต้นไม้ ดอกไม้ สัตว์ รวมทั้งความเปลี่ยนแปลงของโลกที่แวดล้อมเด็กตามธรรมชาติ เช่น ฤดูกาล กลางวัน-กลางคืน ฯลฯ
- สิ่งต่างๆ รอบตัวเด็ก รู้จักสิ่งของเครื่องใช้ ยานพาหนะ และการสื่อสารต่างๆ ที่ใช้อยู่ในชีวิตประจำวันของเด็ก
กิจกรรม (Activities)
- แบ่งนักศึกษาออกเป็น 4 กลุ่ม กลุ่มละ 5 คน ทำ Mind Mapping ในห้วข้อที่ตัวเองได้ คือ เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก
ซึ่งกลุ่มของดิฉันได้เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก สอนเรื่อง ร่างกาย โดยแบ่งเป็น 5 หัวข้อ ดังนี้ - ชนิด
เช่น อวัยวะภายนอก อวัยวะภายใน - ลักษณะ
เช่น สถานะ รูปทรง ขนาด และ สี - ประโยชน์
เช่น ทำให้ร่างกายสมดุล,ทำให้อวัยวะต่าง ๆ เคลื่อนที่
4. การดูแลรักษา
เช่น ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ,รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
5. ข้อควรระวัง
เช่น ใช้ร่างกายให้ถูกวิธี
- หลังจากทำ Mind Mapping เสร็จ อาจารย์ได้สั่งงานให้ทำสิ่งประดิษฐ์ในเรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก โดยมีหัวข้อดังนี้
- ของเล่นที่เด็กทำได้เอง
- ของเล่นเข้ามุม
- ของเล่นที่ทำการทดลอง
เทคนิคการสอน (Technical Education)
- มีการใช้ Ask and Answer ในเรื่องที่เรียนอยู่จนทำให้นักศึกษาเกิดกระบวนการเรียนรู้
ทักษะที่ได้รับ (Gain Skills)
- Has been ask and answer skill
- Has been critical thinking skills
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ (Adoption)
- สามารถนำความรู้ที่ได้ ไปประยุกต์กับการจัดการเรียนสอนให้แก่เด็กปฐมวัย ว่าเราควรสอนอย่างไร
ประเมินอาจารย์ (Teaching Evaluation)
- อาจารย์เข้าสอนตรงต่อเวลา เปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงความคิดเห็น ไม่ตีกรอบเด็กในการตอบคำถาม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น