วันศุกร์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2558

สรุปบทความวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

สรุปบทความ

     เรื่อง : วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย (Science for Early Childhood) 
     ผู้เขียน : บุญไทย แสนอุบล 

     การเรียนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยนั้นมิใช่หมายถึงสาระทางเคมี ชีววิทยา แต่เด็กปฐมวัยนั้นจะเรียนรู้วิทยาศาสตร์จากสิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็กและธรรมชาติเป็นหลักสำคัญ ซึ่ง ดร.ดินา สตาเคิล ได้แบ่งสาระทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยได้ 4 หน่วย ดังนี้
   
     หน่วยที่ 1 การสังเกตโลกรอบตัว
     หน่วยที่ 2 การรับรู้ทางประสาทสัมผัสและการรับรู้
     หน่วยที่ 3 รู้ทรงและสิ่งที่เกี่ยวข้อง
     หน่วยที่ 4 การจัดหมู่และการแยกประเภท

     ในการเรียนหน่วยวิทยาศาสตร์ทั้ง 4 เด็กจะตั้งใช้พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ได้แก่

  1. การสังเกต
  2. การจำแนกประเภท
  3. การสื่อความหมาย
  4. ทักษะการลงความเห็น
    ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

     การเรียนวิทยาศาสตร์เป็นการเรียนการแก้ไขปัญหาอย่างมีเหตุผล ซึ่งกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยสามารถเรียนรู้ได้โดยครูกับเด็กช่วยกันคิดและปฏิบัติ แบ่งเป็น 5 ขั้นดังนี้

     ขั้นที่ 1 การกำหนดขอบเขตของปัญหา 
ครูกับเด็กร่วมกันคิดตั้งประเด้กปัญหาสิ่งที่ต้องการเรียนรู้ร่วมกัน เช่น ต้นไม้โตได้อย่างไร
     ขั้นที่ 2 ตั้งสมมุติฐาน 
เป็นขั้นของการวางแผนร่วมกัน ในการที่จะทดลองหาคำตอบจากการคาดเดาล่วงหน้า
     ขั้นที่ 3 ทดลองและเก็บข้อมูล 
เป็นขั้นตอนที่ครูกับเด็กร่วมกันดำเนินการตามแผนการทดลองตาสมมุติฐานที่ตั้งไว้ในขั้นที่ 2
     ขั้นที่ 4 วิเคราะห์ข้อมูล 
ครูและเด็กนำผลการทดลองมาสนทนา อภิปรายแลกเปลี่ยนความเห็นร่วมกัน
     ขั้นที่ 5 สรุปผลคำตอบสมมุติฐาน ว่าผลที่เกดคืออะไร เพราะอะไร ทำไม
     
     กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ทั้ง 5 ขั้น เป็นกระบวนการที่ต่อเนื่งเป็นวัฏจักร ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ต้องนำมาใช้ในกระบวนการ คือ การสังเกต การจำแนกประเภทและเปรียบเทียบ การวัด การสื่อสาร การทดลอง การสรุปและการนำไปใช้ 

     เป้าหมายของการเรียนวิทยาศาสตร์
  1. ให้เด็กได้ค้นคว้าและสืบค้นสิ่งต่าง ๆ และปรากฎการณ์ที่มี
  2. ให้เด็กได้ใช้ประบวนการทักษะทางวิทยาศาสตร์อย่างแท้จริง
  3. กระตุ้นความอยากรู้อยากเห็น ความสนใจ  และเจตคติของเด็กให้พบ
  4. ช่วยให้เด็กค้นหาข้อมูลความรู้บางอย่างที่เป็นวิทยาศาสตร์ที่สัมพันธ์กับชีวิตประจำวันและการสืบค้น
     สาระที่เด็กต้องเรียน
  1. สาระเกี่ยวกับพืช เช่น พืช ต้นไม้ ดอกไม้
  2. สาระเกี่ยวกับสัตว์ เช่น ประเภทของสัตว์ สวนสัตว์
  3. สาระเกี่ยวกับฟิสิกส์ เช่น การจม การลอย
  4. สาระเกี่ยวกับเคมี เช่น รสของผลไม้ ความร้อน
  5. สาระเกี่ยวกับธรณีวิทยา เช่น ดิน ทราย หิน
  6. สาระเกี่ยวกับดาราศาสตร์ เช่น ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์
     หลักการจัดกิจกรรม 
     หลักการจัดกิจกรรมสามารถแบ่งได้ 5 ข้อ ดังนี้
  1. เป็นเรื่องใกล้ตัวเด็ก
  2. เอื้ออำนวยให้แก่เด็กที่กระทำ
  3. เด็กต้องการและสนใจ
  4. ไม่ซับซ้อน
  5. สมดุล
     สิ่งที่ได้จากวิทยาศาสตร์นั้น คือ การสร้างให้เด็กมีนิสัยในการค้นคว้า การสืบค้น และการเข้าใจสภาพแวดล้อมรอบตัว รู้จักการค้นหาความรู้อย่างนักวิทยาศาสตร์ โดยการพัฒนาทักษะพื้นฐานวิทยาศาสตร์และ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น