วันเสาร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2558

Diary Note 6 Octorber 2015

Diary Note No.8

Substance

นำเสนอวิจัย

เลขที่ 4 การจัดการศึกษาผลของรูปแบบจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยที่มีทักษะต่อกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย

นำเสนอของเล่น

กระดาษยกตัว

อุปกรณ์
  1. ดินน้ำมัน 1 ก้อน
  2. กระดาษ
  3. กรรไกร
  4. ดินสอ
  5. ไม้จิ้มฟัน
  6. ตัวน๊อต
  7. หลอด
วิธีการทำ
  1. ตัดกระดาษเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัสขนาด 5x5 ซม. 
  2. วาดรูปกากบาทลงในสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่ตัดไว้
  3. วัดจากจุดกึ่งกลางของกากบาทออก 1 ซม. ทั้ง 4 ด้านและลากเส้น
  4. จากนั้นลากจุดไข่ปลาดังรูป
  5. นำกรรไกรตัดตรงเส้นสีดำออกดังรูปและพับตรงจุดไข่ปลาขึ้นคล้ายกังหัน
  6. ตัดกระดาษเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสและเจาะรูตรงกลาง
  7. นำน๊อตมาวางไว้บนตัวดินน้ำมัน
  8. ให้นำหลอดมาใส่รูของน๊อต
  9. นำกระดาษที่เจาะรูไว้มาสอดไว้ที่หลอด
  10. จากนั้นนำไม้จิ้มฟันมาเสียบตรงกลางกระดาษที่ตัดไว้คล้ายกังหันข้างต้นมาเสียบเข้าไปในหลอด 
    วิธีการเล่น
    • เป่าให้กระทบใบกังหันให้กระดาษนั้นลอยตัวขึ้นมา

      เทคนิคการสอน (Technical Education)
      • มีการ Ask a question เพื่อให้เด็กได้เกิดกระบวนการทางความคิดเพื่อหาคำตอบ
      • มีการยกตัวอย่างให้นักศึกษาเพื่อให้นักศึกษาได้เข้าใจได้ง่ายยิ่งขึ้น
      ทักษะที่ได้รับ (Gain Skills)
      • Has been ask and answer skill
      • Has been Critical thinking skill
      การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ (Adoption)
      • สามารถนำความรู้ที่ได้เกี่ยวกับทฤษฎีต่าง ๆ และหลักการไปใช้ในการจัดประสบการณ์หรือจัดกิจกรรมต่าง ๆ ให้ตรงตามพัฒนาการของเด็กได้อย่างถูกต้อง และนำของเล่นที่เพื่อนๆประดิษฐ์ไปใช้ในการฝึกสอนได้
      ประเมินอาจารย์ (Teaching Evaluation)
    • ในขณะที่สอนอาจารย์จะยกตัวอย่างเสมอ และถามคำเด็กเพื่อให้เด็กได้เกิดกระบวนการคิดและเพื่อให้เด็กเข้าใจยิ่งขึ้น เกี่ยวกับเนื้อหาที่เรียน เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้แสดงความคิดอย่างเต็มที่

วันจันทร์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2558

สรุปโทรทัศน์ครู เรื่อง สอนเด็กอย่างไรให้มีจิตวิทยาศาสตร์

สรุปโทรทัศน์ครู

เรื่อง : สอนเด็กอย่างไรให้มีจิตวิทยาศาสตร์

โดย : ครูประกายแสง เงินกร
          ครูวาสนา พรมตา 

     การสอนวิทยาศาสตร์นั้นจะทำให้เด็กช่างสังเกต พอสังเกตก็จะทำให้เกิดปัญหา แล้วปัญหาเล่านั้น ก็จะทำให้เกิดสมมติฐาน และพอมีปัญหาเกิดขึ้นแล้วเด็กก็สงสัยอยากที่จะหาคำตอบ ซึ่งในการทดลองนั้นเด็กจะชอบมากเพราะเด็กจะได้ลงมือกระทำด้วยตนเองผ่านประสบการณ์ตรงซึ่งการที่เราจะเป็นจิตวิทยาศาสตร์ได้นั้นจะต้องเป็นคนช่างสังเกต การสังเกตนั้นต้องละเอียด ถี่ถ้วน
     การปลูกฝังจิตวิทยาศาสตร์ให้กับเด็ก
     คือเราต้องทำอย่างไรให้เด็กรักในวิทยาศาสตร์ ไม่เบื่อ อยากเรียน อย่างรู้อยากเห็น มีความสนใจซึ่งการสร้างจิตวิทยาศาสตร์ให้เด็กนั้นทำได้โดย
  •      สร้างบรรยากาศในการเรียนการสอน คือ การเตรียมอุปกรณ์ในการทดลอง ขั้นนี้เด็กจะเกิดการอยากรู้อยากเห็น รู้จักสังเกต อยากถามเกี่ยวกับอุปกรณ์
     การวัดผล
  • สังเกตหลังจากที่สอนว่าเด็กมีความสนใจเนื้อหา สนุกในการเรียนการสอน หรือไม่
  • สัมภาษณ์ผู้ปกครองว่าเด็กเป็นอย่างไรเมื่ออยู่ที่บ้าน
     ธรรมชาติของเด็กจะเป็นคนขี้สงสัย ชอบถามว่า ทำไม ทำไม ทำไม แต่ถ้าเด็กคนไหนที่ไม่จิตวิทยาศาสตร์จะไม่ค่อยถาม เรียนไม่สนุก ดังนั้นเราควรเรียนรู้จากสิ่งที่ใกล้ตัวเด็ก เด็กสามารถเห็นได้จริง ทดลองได้จริง

     การเตรียมตัวของครูผู้สอน
  • การสอนแบบบรรยาย ครูต้องมีเทคนิคในการสอน ครูต้องมีการเตรียมความพร้อม เนื้อหาต้องสั้น กะทัดรัด และเกิดความเข้าใจ เพราะถ้าเราพูดนาน ๆ เด็กจะเบื่อ เนื่องจากเด็กมีสมาธิที่สั้น
  • การทดลอง เด็กจะตื่นเต้นอยากรู้อยากเห็น เกิดข้อสงสัย เด็กจะเรียนรู้จากการกระทำของเขาเอง
      การสร้างบรรยากาศ/การวางแผน
     ถ้าวางแผนไม่ดีเด็กจะไม่สนใจ การวางแผนที่ดี คือ ชื่อเรื่อง ต้องมีสิ่งเร้า ซึ่งสิ่งเร้า เด็กต้องสามารถหาหนทางแก้ไขปัญหาให้กับเราได้

     เด็กสามารถเรียนรู้โดยทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์คือต้องชั่งสังเกต พอเกิดการสังเกต ก็จะเกิดปัญหา เด็กต้องรวบรวมปัญหาเพื่อเป็นการตั้งสมมติฐาน เป็นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เป็นการฝึกให้เด็กเกิดการคิดวิเคราะห์ ในการทดลอง เราไม่ควรไปตีกรอบผลการทดลอง ซึ่งถ้าทดลองเสร็จแล้วให้เด็กแต่ละกลุ่มออกมารายงานผล เผื่อเป็นการสรุปผล
     ซึ่งในการทดลองจะทำให้เด็กได้เกิดกระบวนการกลุ่ม แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับเพื่อนอีกด้วย

วันเสาร์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2558

สรุปวิจัยเรื่องทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน

สรุปวิจัย

    เรื่อง : ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศษสตร์ของเด็ฏปฐมวยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน
    ของ : ศศิพรณ สำแดงเดช  มหาวิทยาลัยศรีนทรครินวิโรฒ

ความมุ่งหมายของการวิจัย
     1. เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรม
การทดลองหลังการฟังนิทาน ก่อนและหลังการทดลอง
     2. เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงของทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับ
การจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน ก่อนและหลังการทดลอง
ความสำคัญของการวิจัย
     เป็นแนวทางให้กับครูและผู้ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาปฐมวัยได้ตระหนัก และเข้าใจถึงความสำคัญในการส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัยด้วยการทำกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน รวมทั้งเป็นแนวทางในการทำกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทานให้มี ความหมายและเกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาเด็กปฐมวัย
ขอบเขตของการวิจัย
    ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย
    ประชากรที่ใช้ในการวิจัย
    กลุ่มประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นเด็กชาย-หญิง อายุระหว่าง 5-6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 ของโรงเรียนวัดไทร (ถาวรพรหมานุกูล) สำนักงานเขตจอมทอง สังกัดกรุงเทพมหานครจำนวน 5 ห้องเรียน จำนวน 175 คน
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย
    กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นเด็กปฐมวัย ชาย-หญิง อายุระหว่าง 5-6 ปีที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 โรงเรียนวัดไทร (ถาวรพรหมานุกูล)สำนักงานเขตจอมทอง สังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 30 คน โดยผู้วิจัยทำการทดสอบเด็กด้วยแบบทดสอบทักษะพื้นฐานวิทยาศาสตร์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น เพื่อคัดเลือกเด็กปฐมวัยจำนวน 15 คนที่มีคะแนนทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ 15 อันดับสุดท้าย กำหนดเป็นกลุ่มทดลอง
ตัวแปรที่ศึกษา 
      1. ตัวแปรต้น ได้แก่ การได้รับการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน 
      2. ตัวแปรตาม ได้แก่ ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 
      1. แผนการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน
      2. แบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
ขั้นตอนในการสร้างแผนการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน
      1. ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการเล่านิทาน
      2. ดําเนินการเลือกนิทานดังนี้
           2.1 เลือกนิทานที่มีอยู่ทั่วไปตามท้องตลาด เป็นนิทานไทย โดยใช้หลกเกณฑ์ในการ เลือกคือ เนื้อหาของนิทานจะให้ความสนกสนานและสอดแทรกเนื้อหาเกี่ยวกับพื้นฐานทางวิทยาศาสตรในด้าน การสังเกต การจําแนก และการสื่อสารโดยมีผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้ทําการคัดเลือกนิทาน
          2.2 นํานิทานที่เลือกมากำหนดคําถามและสร้างกิจกรรมการทดลองที่มี ความสัมพันธ์กับเนื้อเรื่องของนิทานและจุดประสงค์ทที่ต้องการการส่งเสริมทักษะพื้นฐานวิทยาศาสตร์ของ แต่ละเรื่อง นิทานที่เลือกและสร้างเพิ่มเติมเรียงลําดับตามวันที่ปฏิบัติกิจกรรมและจุดประสงค์ที่ ต้องการส่งเสริม ดังนี้
รายชื่อนิทานและการทดลอง
สัปดาห์ที่ 1

วันจันทร์     
นิทานเรื่อง สัมผัส...จับดู รู้สึกอย่างไร (ธาริณี เหลืองอารีพร)
กิจกรรมการทดลอง  สัมผัส-ฉันคือใคร

วันอังคาร
นิทานเรื่อง  แม่ไก่สามตัว (เกริก ยุ้นพันธ์)
กิจกรรมการทดลอง  เขย่าไข่ให้ลอยสูง

วันพุธ
นิทานเรื่อง  โอมเพี้ยง(เกวลิน กายทอง)
กิจกรรมการทดลอง  ประกอบอาหาร-เยลลี่แปลงร่าง

สัปดาห์ที่ 2 

วันจันทร์
นิทานเรื่อง  หยดน้ําผจญภัย (ปิติพร วทาทิยาภรณ์)
กิจกรรมการทดลอง  ทดลองไอน้ํา-สร้างเมฆ

วันอังคาร
นิทานเรื่อง  สายรุ้งแห่งความรัก (สํานักพิมพ์ห้องเรียน)
กิจกรรมการทดลอง  ฉีดละอองน้ําในอากาศ

วันพุธ
นิทานเรื่อง  ลูกหมีอุ้ยอ้าย (วีระพรรณ ใจสุบรรณ)
กิจกรรมการทดลอง  เปรียบเทียบหนัก-เบา

สัปดาห์ที่ 3 

วันจันทร์
นิทานเรื่อง  คามีเลี่ยน กิ้งก่าเปลี่ยนสี (สนทนา วิสาสะ)
กิจกรรมการทดลอง  สร้างสีจากพืชธรรมชาติ

วันอังคาร
นิทานเรื่อง  ครึ่งวงกลมสีแดง (ชีวัน วิสาสะ)
กิจกรรมการทดลอง  ลอยเรือในน้ํา

วันพุธ
นิทานเรื่อง  พลังงานลม (ผศ.จิตติรัตนันท์ ทัดเทียมรมย์)
กิจกรรมการทดลอง  ทดลองกังหันเล่นลม

สัปดาห์ที่ 4 

วันจันทร์
นิทานเรื่อง  ชุดวิเศษของฉัน (คายาโกะ นิชมากิ)
กิจกรรมการทดลอง  สีจากดอกไม้

วันอังคาร
นิทานเรื่อง  ดวงอาทิตย์ตกที่ไหน (ดํารงศักดิ์ บุญสู่)
กิจกรรมการทดลอง  ทดลองมืด-สว่าง

วันพุธ
นิทานเรื่อง  เจ้าสาวบนดวงจันทร์ (วรธิดา อุดมสุข)
กิจกรรมการทดลอง  ทดลองการสร้างเงา

สัปดาห์ที่ 5

วันจันทร์
นิทานเรื่อง  กรุ๊งกริ๊ง (ภาวศุทธิ พงศ์เศรษไพศาล)
กิจกรรมการทดลอง  เสียงอะไรเอ่ย

วันอังคาร
นิทานเรื่อง  กระต่ายน้อยหนีแม่ (เกริก ยุ้นพันธ์)
กิจกรรมการทดลอง  ทดลองน้ําตาลอัดลม

วันพุธ
นิทานเรื่อง  โลกนี้...สีรุ้ง (วุฒิดนัย อินทรเกษตร)
กิจกรรมการทดลอง รุ้งรอบเปลวเทียน

สัปดาห์ที่ 6 

วันจันทร์
นิทานเรื่อง  ดาวอะไรเอ่ย (ชีวัน วิสาสะ)
กิจกรรมการทดลอง  ทดลองการเกิดแสงดาว

วันอังคาร
นิทานเรื่อง  นางฟ้าเจ็ดสี (ไม่ทราบนามผู้แต่ง)
กิจกรรมการทดลอง  ทดลองรุ้งบนกระดาษ

วันพุธ
นิทานเรื่อง  ลูกไก่กับลูกเป็ด (พิพัฒน์ ตราเกียรติกลุ )
กิจกรรมการทดลอง  ทดลองลอย-จม

สัปดาห์ที่ 7 

วันจันทร์
นิทานเรื่อง  การเดินทางของลูกยาง (สายฝัน)
กิจกรรมการทดลอง  การร่อนของคอปเตอร์

วันอังคาร
นิทานเรื่อง  อูฐออม (ศุภนิดา จันทรสวัสดิ์)
กิจกรรมการทดลอง  ทดลองน้ํามาจากไหน

วันพุธ
นิทานเรื่อง  กระดุ๊กกระดิ๊กกระด๊อกกระแด๊ก (เกริก ยุ้นพันธ์)
กิจกรรมการทดลอง  ทดลองน้ําหายไปไหน

สัปดาห์ที่ 8

วันจันทร์
นิทานเรื่อง  หุ่นไล่กาเพื่อนรัก (ไม่ทราบผู้แต่ง)
กิจกรรมการทดลอง  ทดลองสร้างหุ่นลูกโป้ง

วันอังคาร
นิทานเรื่อง  นิทานใต้ต้นกร่าง (สายฝน)
กิจกรรมการทดลอง ทดลองต้นไม้ดูดสี

วันพุธ
นิทานเรื่อง  ก ไก่ไดโนเสาร์ (ชีวัน วิสาสะ)
กิจกรรมการทดลอง  ทดลองฟอลซิลทําเอง

     3. ทําแผนการจัดกิจกรรมการเล่านิทาน จํานวน 24 แผน โดยกําหนดรูปแบบของการ จัดกิจกรรมซึ่งประกอบไปด้วย ชื่อนิทาน จุดประสงค์อุปกรณ์ขั้นตอนในการดําเนินกิจกรรม 3 ขั้นตอน ดังนี้ 
          3.1 ขั้นนํา ครูนําเด็กเข้าสู่เรื่องราว เช่น การร้องเพลง การสนทนา การทําท่าทาง การใช้คําถาม สร้างข้อตกลงร่วมกัน ระหว่างครูกับเด็กในการปฏิบัติระหว่างฟังนิทานและฟัง นิทานจนจบเรื่อง 
          3.2 ขั้นดําเนินกิจกรรม เด็กและครูสนทนาเรื่องราวในนิทาน และร่วมกันทํา กิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทานเพื่อให้เด็กได้ฝึกทกษะในเรื่อง การสังเกต การจําแนก และการ สื่อสาร ที่มีความสัมพันธ์กับเนื้อเรื่องและสงเสริมทักษะพื้นฐานทาวทิยาศาสตร์ตามจุดประสงค์ของ การทดลองโดยเด็กทําการทดลองด้วยตนเอง เด็กทําการทดลองโดยครูทําให้ดูเป็นตัวอย่างและเด็ก กับครูทําการทดลองร่วมกัน
           3.3 ขั้นสรุป เด็กร่วมกิจกรรมอย่างสนุกสนานและทําการทดลองทางวิทยาศาสตร์ ด้วยความเข้าใจ

สรุปการทดลอง
     1. เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจักกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทานมีทักษะพื้นฐานทางวิทยศาสตรและพบว่าทักษะด้านการสังเกต การจําแนก และการสื่อสารสูงกว่าก่อนการทดลอง
     2. ก่อนการทดลองการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน โดยรวมและรายด้านคือ ด้านการสังเกต ด้านการจําแนก และด้านการสื่อสาร อยู่ในระดับพอใช้หลังการจัดกิจกรรมหลังการฟังนิทาน โดยรวมอยู่ในระดับดีและรายด้านคือ ด้านการสังเกตอยู่ในระดับดีมาก ด้านการจําแนกและการสอสารอยู่ในระดับดี